ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

มีผู้ออกแบบไหม?

วงจรชีวิตจักจั่นอเมริกาเหนือ

วงจรชีวิตจักจั่นอเมริกาเหนือ

จักจั่นเป็นแมลงคล้าย ๆ ตั๊กแตน มีอยู่ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา แต่จักจั่นชนิดหนึ่งในแถบอเมริกาเหนือ (the periodical cicadas) ทำให้นักชีววิทยาสนใจมานานแล้ว

ลองคิดดู: อยู่ ๆ จักจั่นชนิดนี้นับล้าน ๆ ตัวก็โผล่ขึ้นมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ พวกมันมีชีวิตอยู่แค่ไม่กี่สัปดาห์ ช่วงที่ขึ้นมาบนพื้นดิน พวกมันจะลอกคราบ ส่งเสียงร้องดังมาก บินไปมา สืบพันธุ์ และตาย น่าทึ่งที่ลูกหลานรุ่นต่อไปของพวกมันจะโผล่ออกมาในอีก 13 หรือ 17 ปีต่อมาขึ้นอยู่กับว่าเป็นชนิดไหน เกิดอะไรขึ้นในช่วงที่มันหายไป?

เพื่อจะพบคำตอบ เราต้องเข้าใจวงจรชีวิตของจักจั่นอเมริกาเหนือชนิดนี้ ช่วง 1 สัปดาห์หลังจากที่มันโผล่ขึ้นมา ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่ 400 ถึง 600 ฟองตามกิ่งไม้ จากนั้นพ่อแม่จักจั่นก็จะตาย และอีก 2-3 สัปดาห์ต่อมา ไข่ก็จะฟักตัวเองออกมาเป็นลูกจักจั่นอ่อน ๆ และหล่นลงมาตามพื้น มันจะค่อย ๆ ชอนไชลงไปในดินและอาศัยอยู่ใต้พื้นดิน ตลอดหลายปีที่อยู่ในดิน มันจะดูดน้ำเลี้ยงจากรากต้นไม้กินเป็นอาหาร อีก 13 หรือ 17 ปีต่อมาจักจั่นรุ่นใหม่นี้ก็จะโผล่ขึ้นมาและเริ่มวงจรชีวิตแบบเดิมอีกครั้ง

บทความหนึ่งในวารสารเนเจอร์ บอกว่าวงจรชีวิตที่ซับซ้อนของจักจั่นชนิดนี้ “ทำให้นักวิทยาศาสตร์พิศวงงงงวยมาหลายศตวรรษแล้ว . . . แม้แต่ในปัจจุบันนี้ นักกีฏวิทยาก็ยังพยายามจะเข้าใจว่าวงจรชีวิตที่น่าทึ่งของจักจั่นชนิดนี้พัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร” มันเป็นความลึกลับที่น่าทึ่งของอาณาจักรสัตว์จริง ๆ

คุณคิดอย่างไร? วงจรชีวิตของจักจั่นอเมริกาเหนือเกิดขึ้นโดยวิวัฒนาการหรือมีผู้ออกแบบ?