ทำไมฉันกับพ่อแม่เถียงกันอยู่เรื่อย?
หนุ่มสาวถามว่า
ทำไมฉันกับพ่อแม่เถียงกันอยู่เรื่อย?
ในเหตุการณ์สมมุติข้างล่างนี้ เรเชลมีส่วนทำให้เกิดการโต้เถียงถึงสามทางด้วยกัน. คุณบอกได้ไหมว่ามีอะไรบ้าง? เขียนคำตอบของคุณลงข้างล่างต่อจากเหตุการณ์นี้ แล้วตรวจคำตอบในกรอบท้ายบทความ.
คืนนี้เป็นคืนวันพุธ. เรเชล วัย 17 ปี เพิ่งทำงานบ้านเสร็จและอยากจะพักผ่อนหายเหนื่อยเสียที! เธอเปิดทีวีและทรุดตัวลงบนเก้าอี้ตัวโปรด.
ตอนนั้นแม่ก็กลับมาพอดี และท่าทางอารมณ์เสีย. “เรเชล! ทำไมลูกมัวแต่เสียเวลาดูทีวี แทนที่จะช่วยน้องทำการบ้าน? แม่สั่งอะไรไม่เคยทำตามเลย!”
เรเชลบ่นเสียงดังพอที่แม่จะได้ยินว่า “เอาอีกแล้ว.”
แม่ยื่นหน้าพร้อมกับพูดว่า “นี่เธอว่ายังไงนะ?”
เรเชลตอบว่า “เปล่านี่แม่” พร้อมกับถอนหายใจและมีสีหน้ารำคาญ.
ตอนนี้แม่โกรธจริง. แม่พูดว่า “อย่าใช้น้ำเสียงอย่างนี้กับแม่นะ!”
เรเชลย้อนว่า “แล้วน้ำเสียงที่แม่ใช้กับหนูล่ะ?”
หมดเวลาพักผ่อนเสียแล้ว . . . การโต้เถียงก็เริ่มขึ้น.
1. ․․․․․
2. ․․․․․
3. ․․․․․
เหตุการณ์ข้างต้นฟังดูคุ้น ๆ ไหม? คุณกับพ่อแม่เถียงกันอยู่เสมอไหม? ถ้าเป็นอย่างนั้น จงวิเคราะห์สภาพการณ์สักครู่หนึ่ง. เรื่องอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันมากที่สุด? ทำเครื่องหมายไว้ในช่องที่ตรงกับกรณีของคุณ หรือเขียนเรื่องของคุณในช่อง “อื่น ๆ.”
○ เจตคติ
○ งานบ้าน
○ เสื้อผ้า
○ การกลับบ้านตามเวลากำหนด
○ ความบันเทิง
○ เพื่อนฝูง
○ เพศตรงข้าม
○ อื่น ๆ
เอเฟโซส์ 6:2, 3) แต่คัมภีร์ไบเบิลยังสนับสนุนคุณให้พัฒนา “ความสามารถในการคิด” และให้ใช้ “ความสามารถในการใช้เหตุผล.” (สุภาษิต 1:1-4, ล.ม.; โรม 12:1) ตราบที่คุณทำเช่นนั้น ก็เลี่ยงไม่ได้ที่คุณจะเชื่อมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งบางอย่างก็อาจไม่ตรงกับแนวคิดของพ่อแม่ก็ได้. อย่างไรก็ตาม ในครอบครัวที่ใช้หลักการของคัมภีร์ไบเบิล พ่อแม่กับลูกวัยรุ่นสามารถสื่อความกันได้อย่างสันติ ถึงแม้จะไม่ เห็นพ้องกันทุกเรื่อง.—โกโลซาย 3:13
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร การเถียงกันก็ทำให้คุณและ พ่อแม่รู้สึกเครียด. แน่นอน คุณอาจนิ่งเงียบและแสร้งทำเป็นว่าคุณเห็นด้วยกับทุกสิ่งที่พ่อแม่พูด. แต่พระเจ้าคาดหมายให้คุณทำอย่างนั้นไหม? ไม่เลย. จริงอยู่ คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “จงนับถือบิดามารดาของเจ้า.” (คุณจะพูดถึงความรู้สึกของตัวเองอย่างไรโดยไม่ทำให้การสนทนาตามปกติกลายเป็นการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน? ง่ายที่จะพูดว่า “ปัญหานั้นอยู่ที่พ่อแม่. ว่าไปแล้ว พ่อแม่ ต่างหากที่จู้จี้กับฉันเสมอ!” แต่คิดดูสิ คุณสามารถควบคุมคนอื่น รวมทั้งพ่อแม่ได้มากน้อยแค่ไหน? อันที่จริง คนเดียวที่คุณเปลี่ยนได้ก็คือตัวคุณเอง. และที่น่าดีใจก็คือ ถ้าคุณทำส่วนของคุณเพื่อลดความตึงเครียด ก็จะมีโอกาสมากขึ้นที่พ่อแม่จะไม่โมโหและฟังคุณเมื่อคุณอยากพูดบางอย่าง.
ดังนั้น ให้เราดูสิว่าคุณ จะทำอะไรได้เพื่อระงับการโต้เถียงกับพ่อแม่. ลองใช้คำแนะนำต่อไปนี้ แล้วคุณอาจทำให้พ่อแม่และตัวคุณเองแปลกใจที่คุณได้เรียนรู้ทักษะการสื่อความใหม่ ๆ.
(ข้อแนะ: ทำเครื่องหมายไว้ในช่องคำแนะนำที่คุณต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ.)
○ คิดก่อนตอบ. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ใจของคนชอบธรรมตรึกตรองก่อนแล้วจึงตอบ.” (สุภาษิต 15:28) เมื่อรู้สึกว่าถูกตำหนิ ก็อย่าพูดโพล่งสิ่งแรกที่ผุดขึ้นมาในความคิด. ยกตัวอย่าง สมมุติแม่ของคุณพูดว่า “ทำไมลูกไม่ล้างจาน? แม่สั่งอะไรไว้ลูกไม่เคย ทำเลย!” คำตอบที่โพล่งออกมาอาจเป็นดังนี้: “ทำไมแม่จู้จี้จุกจิกกับหนูอย่างนี้?” แต่จงใช้ความสามารถในการคิด. พยายามเข้าใจว่าจริง ๆ แล้ว ที่แม่พูดอย่างนั้นแม่รู้สึกอย่างไร. ปกติแล้ว คำพูดเช่น “เสมอ” และ “ไม่เคย” ไม่ได้หมายความตามตัวอักษร. อย่างไรก็ตาม คำพูดเหล่านั้นแสดงถึงความรู้สึกในใจของแม่. ความรู้สึกเช่นไร?
บางทีแม่อาจหงุดหงิด เพราะรู้สึกว่าต้องแบกรับงานในบ้านมากเกินไป. อาจเป็นได้ที่แม่ต้องการความมั่นใจว่าคุณจะคอยช่วย. หรือถ้าจะพูดตรง ๆ ที่ผ่านมาคุณอาจไม่ค่อยได้ช่วยทำงานบ้าน. จะอย่างไรก็ตาม การพูดว่า “ทำไมแม่จู้จี้จุกจิกกับหนูอย่างนี้?” ไม่ได้ช่วยอะไรเลย นอกจากทำให้เกิดการโต้
เถียง! แทนการพูดอย่างนั้น คุณก็น่าจะทำให้แม่สบายใจ. ตัวอย่างเช่น คุณอาจพูดว่า “หนูเข้าใจว่าแม่อารมณ์ไม่ดี. หนูจะจัดการเดี๋ยวนี้แหละ.” ข้อควรระวัง: อย่า ใช้น้ำเสียงประชดประชัน. การตอบด้วยความเห็นอกเห็นใจคงจะช่วยคลายความตึงเครียดระหว่างคุณกับแม่.ข้างล่างนี้ ให้เขียนสิ่งที่พ่อหรือแม่ของคุณ พูดซึ่งอาจทำให้คุณโกรธขึ้นมาทันที ถ้าคุณไม่ควบคุมตัวเอง.
․․․․․
ตอนนี้ให้คิดว่าคุณจะตอบอย่างไรเพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจอันเป็นการคำนึงถึงความรู้สึกที่แฝงในคำพูดของพ่อแม่.
․․․․․
○ พูดด้วยความนับถือ. มิเชลล์ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในเรื่องความสำคัญของวิธีที่เธอพูดกับแม่. เธอบอกว่า “ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอะไร สุดท้ายก็เป็นเพราะแม่ไม่ชอบน้ำเสียงของฉัน.” ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ในกรณีของคุณ จงฝึกพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลและพูดช้า ๆ อย่าแสดงสีหน้าหรือท่าทีว่าคุณรู้สึกรำคาญ. (สุภาษิต 30:17) ถ้าคุณรู้ตัวว่ากำลังควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ให้อธิษฐานสั้น ๆ ในใจต่อพระเจ้า. (นะเฮมยา 2:4) แน่นอน เป้าหมายของคุณไม่ใช่เพื่อขอพระเจ้าช่วย ‘ให้พ่อแม่เลิกจู้จี้จุกจิกเสียที’ แต่เพื่อคุณจะควบคุมอารมณ์ได้และไม่ใส่ฟืนเข้ากองไฟ.—ยาโกโบ 1:26
ในช่องว่างข้างล่าง ให้เขียนสิ่งที่คุณ ไม่ควรพูดหรือกระทำ.
การแสดงออกทางวาจา:
․․․․․
การแสดงสีหน้าและท่าทาง:
․․․․․
○ ฟัง. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวดังนี้: “การพูดมากมักมีความผิด.” (สุภาษิต 10:19) ฉะนั้น จงให้โอกาสพ่อแม่ได้พูด และตั้งใจฟังพวกท่าน. ปิดเพลง, วางหนังสือหรือนิตยสารไว้ก่อน, และสบตาพ่อแม่. อย่าพูดแทรกเพื่อแก้ตัว. ฟังอย่างเดียว. หลังจากพ่อแม่พูดจบ คุณก็มีโอกาสมากที่จะไต่ถามหรือชี้แจงความเห็นของคุณ. ในทางกลับกัน ถ้าคุณยังดื้ออยู่และพยายามยืนกรานความเห็นของคุณในตอนนี้ คุณก็รังแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น. แม้ว่ายังมีบางอย่างที่คุณอยากจะพูด แต่ตอนนี้คงเป็น “เวลานิ่งเงียบ.”—ท่านผู้ประกาศ 3:7, ล.ม.
○ เต็มใจขอโทษ. นับว่าเหมาะสมเสมอที่จะพูดว่า “ผมขอโทษ” ถ้าบางอย่างที่คุณทำลงไปมีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้ง. (โรม 14:19) คุณอาจบอกได้ด้วยซ้ำว่าคุณเสียใจที่เกิดความขัดแย้ง. ถ้าคุณเห็นว่ายากที่จะกล่าวคำขอโทษต่อ หน้าพ่อแม่ ลองเขียนคำขอโทษให้ท่านอ่านดูสิ. แล้ว “จงไปกับเขาสองกิโลเมตร” โดยเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้ง. (มัดธาย 5:41) ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณละเลยงานบ้านและเป็นเหตุให้เกิดการโต้เถียง ลองทำให้พ่อแม่แปลกใจโดยลงมือทำงานนั้นดูสิ. แม้คุณจะไม่ชอบงานนั้น แต่ก็ดีกว่าไม่ใช่หรือถ้าคุณได้ทำงานเสร็จเรียบร้อยแทนที่จะถูกต่อว่าเมื่อพ่อแม่เห็นว่าคุณยังไม่ได้ลงมือทำงานนั้น?—มัดธาย 21:28-31
ในที่สุด การพยายามแก้ไขหรือป้องกันความขัดแย้งจะทำให้ชีวิตของคุณ ราบรื่นมากขึ้น. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าคนที่ “มีความกรุณารักใคร่ปฏิบัติอย่างที่เป็นประโยชน์กับชีวิตของตนเอง.” (สุภาษิต 11:17) ดังนั้น ขอให้คิดถึงผลประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการมีส่วนช่วยลดความตึงเครียดระหว่างคุณกับพ่อแม่.
ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จย่อมจะขัดแย้งกันบ้าง แต่เขารู้ว่าจะจัดการอย่างไรให้ลงเอยด้วยสันติ. จงฝึกทักษะตามที่กล่าวไว้ในบทความนี้ และคุณจะประสบว่าคุณสามารถพูดคุยกับพ่อแม่ได้แม้ในเรื่องที่ทำให้ลำบากใจ โดยปราศจาก การโต้เถียง!
ถ้าต้องการอ่านบทความชุด “หนุ่มสาวถามว่า” เพิ่มเติม ให้ดาวน์โหลดตื่นเถิด! ฉบับอื่น ๆ จากเว็บไซต์ www.pr2711.com
ข้อชวนคิด
• ทำไมคนรุ่นเดียวกับคุณบางคนจึงเห็นว่าความสามารถในการโต้เถียงเป็นสิ่งดี?
• ทำไมพระยะโฮวาทรงถือว่าคนชอบโต้เถียงเป็นคนโฉดเขลา?—สุภาษิต 20:3
[กรอบ/ภาพหน้า 27]
สิ่งที่คนรุ่นเดียวกับคุณพูด
“ผมต้องยอมรับว่าแม้ผมจะทำงานและเลี้ยงตัวเองได้แล้ว แต่ผมก็ยังอยู่ในบ้านแม่ และต้องฟังแม่. แม่ดูแลผมมาหลายปี ฉะนั้น เมื่อแม่สอดส่องดูความประพฤติ เป็นต้นว่า ผมกลับบ้านตรงตามเวลาหรือไม่ ผมก็เข้าใจแม่ดี.”
“ถ้าความเห็นของฉันกับพ่อแม่ไม่ตรงกันในบางเรื่อง เราอธิษฐานด้วยกัน, ค้นหาข้อมูล, และพิจารณาเรื่องนั้น. เมื่อใช้วิธีนี้เราตกลงกันได้ทุกเรื่อง. เมื่อเราให้พระยะโฮวามีส่วนร่วม สุดท้ายแล้วทุกอย่างก็ลงเอยด้วยดี.”
[ภาพ]
แดเนียล
แคเมอรอน
[กรอบหน้า 29]
คำตอบ
1. การใช้คำพูดประชดประชัน (“เอาอีกแล้ว”) มีแต่จะยั่วให้แม่โมโหมากขึ้น.
2. สีหน้าของเรเชล (แสดงความรำคาญ) เป็นการหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตน.
3. การพูดย้อน (“แล้วน้ำเสียงที่แม่ ใช้กับหนู ล่ะ?”) มีแต่จะทำให้สภาพการณ์แย่ลง.
[กรอบหน้า 29]
ถึงคุณพ่อคุณแม่
โปรดดูเหตุการณ์สมมุติตอนต้นบทความนี้. คุณจะระบุบางสิ่งที่แม่ของเรเชลทำได้ไหม ซึ่งรังแต่จะทำให้เกิดการโต้เถียงกันเท่านั้น? คุณจะเลี่ยงการโต้เถียงกับลูกวัยรุ่นได้อย่างไร? ต่อไปนี้เป็นบางจุดที่คุณควรจดจำ:
หลีกเลี่ยงการกล่าวเกินจริง เช่น “เธอทำ . . . เสมอ” หรือ “เธอไม่เคยทำ . . . เลย.” คำพูดเช่นนี้มีแต่จะทำให้ลูกแก้ตัว. ถึงอย่างไร คำพูดเหล่านี้มันก็เกินจริงอยู่แล้ว และลูกก็รู้. ลูกอาจจะรู้ด้วยว่า การพูดเกินจริงเช่นนี้ ที่แท้แล้วเป็นเพราะคุณโมโห ไม่ใช่เพราะลูกไม่มีความรับผิดชอบ.
แทนที่จะพูดแบบขวานผ่าซาก โดยเริ่มด้วยคำว่า “เธอ” จงอธิบายว่าความประพฤติของลูกมีผลกระทบต่อคุณอย่างไร. ตัวอย่างเช่น “เมื่อลูกทำ . . . แม่รู้สึก. . . . ” เชื่อหรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วลูกวัยรุ่นเป็นห่วงความรู้สึกของคุณ. ถ้าคุณบอกลูกว่าคุณได้รับผลกระทบอย่างไร คุณก็จะกระตุ้นให้เขาร่วมมือได้มากขึ้น.
แม้จะยากก็จงยับยั้งตัวเองไว้จนกว่าคุณสามารถควบคุมอารมณ์ได้. (สุภาษิต 10:19) ถ้าประเด็นที่โต้เถียงกันเป็นเรื่องงานบ้านก็จงพูดคุยกับลูก. เขียนเจาะจงลงไปว่า คุณต้องการให้ลูกทำอะไรและถ้าจำเป็นก็บอกให้ชัดเจนเลยว่า ผลจะเป็นอย่างไรถ้าเขาไม่ทำตาม. อดทนฟังความคิดเห็นของลูก แม้คุณจะรู้สึกว่าความคิดของเขาไม่ถูกต้อง. วัยรุ่นส่วนใหญ่จะเชื่อฟังมากขึ้นถ้าพ่อแม่รับฟังเขาแทนที่จะบ่น.
ก่อนลงความเห็นว่าน้ำใจขืนอำนาจของโลกครอบงำลูกวัยรุ่นของคุณแล้ว จงตระหนักว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของลูกเท่าที่คุณเห็นเป็นขั้นตอนการเติบโตตามธรรมชาติของลูก. ลูกอาจจะโต้เถียงเพียงเพื่อพิสูจน์ว่าเขาโตแล้ว. พยายามที่จะไม่เถียงกับลูก. จงจำไว้ว่า ปฏิกิริยาของคุณต่อการยั่วยุจะเป็นบทเรียนสำหรับลูกวัยรุ่น. จงแสดงความเพียรอดทนและอดกลั้น แล้วคุณจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกชายหญิงของคุณปฏิบัติตาม.—กาลาเทีย 5:22, 23
[ภาพหน้า 28]
การโต้เถียงกับพ่อแม่เป็นเหมือนการวิ่งอยู่บนเครื่องออกกำลังกาย นั่นคือคุณจะใช้พลังงานมากแต่ไปไม่ถึงไหนเลย