บทสิบห้า
เธอเสี่ยงชีวิตปกป้องประชาชนของพระเจ้า
1-3. (ก) ทำไมเอศเธระอาจรู้สึกกลัวขณะที่เดินไปใกล้ท้องพระโรง? (ข) เราจะพิจารณาคำถามอะไรเกี่ยวกับเอศเธระ?
เอศเธระพยายามทำใจให้สงบขณะเดินไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ที่พระราชวังในกรุงชูชาน. นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเธอ. ทุกสิ่งในราชวังล้วนถูกออกแบบขึ้นเพื่อทำให้รู้สึกครั่นคร้าม ไม่ว่าจะเป็นภาพโคตัวผู้มีปีกที่สลักนูนบนผนัง ภาพเหล่าพลธนูและสิงโตซึ่งตกแต่งด้วยอิฐเคลือบหลากสี และเสาหินที่แกะเป็นลายเส้นและรูปปั้นขนาดมหึมา. นอกจากนั้น พระราชวังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงใกล้เทือกเขาซากรอสที่มีหิมะปกคลุมและสามารถมองเห็นแม่น้ำโชอัสเพสได้. ทุกรายละเอียดในพระราชวังนี้ล้วนทำให้ผู้มาเยือนตระหนักถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่ของบุรุษที่เอศเธระกำลังจะไปพบ ผู้ที่เรียกตัวเองว่า “จอมราชัน” ซึ่งก็คือสามีเธอ.
2 สามีหรือ? คงไม่มีหญิงสาวชาวยิวที่เชื่อในพระเจ้าคนใดอยากแต่งงานกับคนอย่างกษัตริย์อะหัศวะโรศ. * เขาไม่ได้เป็นเหมือนอับราฮามผู้ถ่อมใจซึ่งยอมฟังซาราห์ตามการชี้นำของพระเจ้า. (เย. 21:12) กษัตริย์องค์นี้ไม่รู้อะไรเลยเรื่องพระยะโฮวาพระเจ้าของเอศเธระและกฎหมายของพระองค์. แต่อะหัศวะโรศรู้กฎหมายของเปอร์เซียเป็นอย่างดีซึ่งห้ามสิ่งที่เอศเธระกำลังจะทำ. เธอจะทำอะไรหรือ? กฎหมายนั้นบัญญัติว่าใครก็ตามที่เข้าเฝ้ากษัตริย์เปอร์เซียโดยไม่มีรับสั่งอาจมีโทษถึงตาย. เอศเธระไม่ได้ถูกเรียกให้เข้าเฝ้ากษัตริย์ แต่เธอต้องเข้าเฝ้าให้ได้. ขณะที่เดินไปใกล้ท้องพระโรงซึ่งเป็นจุดที่กษัตริย์อาจมองเห็นได้จากบัลลังก์ เอศเธระคงรู้สึกว่าตัวเองกำลังเดินไปสู่ความตาย.—อ่านเอศเธระ 4:11; 5:1
3 ทำไมเธอต้องเสี่ยงชีวิตเช่นนั้น? และเราจะเรียนอะไรได้จากความเชื่อของหญิงสาวผู้โดดเด่นคนนี้? ก่อนอื่น ให้เราดูว่าหญิงสามัญชนอย่างเอศเธระกลายเป็นราชินีผู้สูงศักดิ์แห่งเปอร์เซียได้อย่างไร.
ภูมิหลังของเอศเธระ
4. เอศเธระมีภูมิหลังเช่นไร และเธอมาอยู่กับมาระดะคายได้อย่างไร?
4 เอศเธระเป็นเด็กกำพร้า. เราแทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับพ่อแม่ของเธอซึ่งตั้งชื่อให้เธอว่าฮะดัดซา. ชื่อนี้ในภาษาฮีบรูหมายถึง “ต้นเมอร์เทิล” ซึ่งเป็นไม้พุ่มมีดอกสีขาวน่ารัก. หลังจากพ่อแม่ของเอศเธระเสียชีวิต มาระดะคายญาติผู้ใจดีได้รับหนูน้อยกำพร้าคนนี้มาเลี้ยง. มาระดะคายเป็นลูกพี่ลูกน้องของเอศเธระแต่อายุแก่กว่ามาก. เขารับเธอมาอยู่ที่บ้านและเลี้ยงเหมือนลูกของตนเอง.—เอศ. 2:5-7, 15
5, 6. (ก) มาระดะคายเลี้ยงดูเอศเธระอย่างไร? (ข) เอศเธระกับมาระดะคายมีความเป็นอยู่อย่างไรในกรุงชูชาน?
5 มาระดะคายและเอศเธระอาศัยอยู่ในเมืองหลวงของเปอร์เซียในฐานะชาวยิวที่ถูกเนรเทศ. ศาสนาและกฎหมายที่พวกเขายึดถือคงทำให้ชาวเปอร์เซียดูถูกดูแคลนพวกเขา. เอศเธระคงสนิทกับมาระดะคายมากขึ้นเมื่อเขาสอนเธอเกี่ยวกับพระยะโฮวาพระเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณาซึ่งช่วยเหลือประชาชนของพระองค์หลายครั้งแล้วและจะทำเช่นนั้นอีก. (เลวี. 26:44, 45) ด้วยเหตุนี้ เอศเธระกับมาระดะคายคงรักและผูกพันกันมาก.
6 มาระดะคายอาจเป็นข้าราชการคนหนึ่งในพระราชวังที่กรุงชูชาน. เขามักนั่งอยู่ที่ประตูเมืองกับเหล่าข้าราชบริพารของกษัตริย์. (เอศ. 2:19, 21; 3:3) เราไม่รู้ว่าเอศเธระทำอะไรบ้างช่วงที่เธอเติบโตขึ้น แต่เราแน่ใจว่าเธอ คงดูแลพ่อบุญธรรมและบ้านของเขาเป็นอย่างดี. บ้านของทั้งสองคงอยู่ในเขตของคนยากจนและอยู่คนละฝั่งแม่น้ำกับพระราชวัง. เอศเธระคงชอบไปตลาดในกรุงชูชาน ซึ่งพวกพ่อค้ามักเอาสินค้ามาวางขาย มีทั้งเครื่องเงินและเครื่องทองต่าง ๆ. เอศเธระคงคิดไม่ถึงว่า วันหนึ่งเธอจะได้ประดับตัวด้วยสิ่งของที่สวยงามและหรูหราเช่นนั้น. เธอไม่รู้เลยว่าอนาคตของตัวเองจะเป็นเช่นไร.
“รูปร่างงามและสะสวย”
7. เหตุใดพระนางวัศธีถูกถอดจากตำแหน่งราชินี และเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น?
7 มีข่าวลือไปทั่วกรุงชูชานว่าเกิดเรื่องใหญ่ขึ้นในราชสำนัก. วันหนึ่ง กษัตริย์อะหัศวะโรศจัดงานเลี้ยงใหญ่ให้บรรดาเจ้านายและขุนนางทั้งหลายโดยมีอาหารชั้นเลิศและเหล้าองุ่นอย่างดี. กษัตริย์สั่งคนให้ไปตามพระนางวัศธีราชินีผู้เลอโฉมมาเข้าเฝ้า ตอนนั้นนางกำลังกินเลี้ยงอยู่กับเหล่าสตรี. แต่พระนางวัศธีไม่ยอมเสด็จมา. กษัตริย์ทรงอับอายและกริ้วมากจึงถามเหล่าที่ปรึกษาว่าควรลงโทษพระนางวัศธีอย่างไร. ผลคือ นางถูกถอดจากตำแหน่งราชินี. จากนั้น มีการส่งข้าราชสำนักหลายคนออกไปทั่วอาณาจักรเพื่อเสาะหาสาวพรหมจารีที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงามให้มาเป็นราชินีองค์ใหม่.—เอศ. 1:1–2:4
8. (ก) ทำไมมาระดะคายอดห่วงไม่ได้เมื่อเห็นเอศเธระเติบโตขึ้น? (ข) เราจะใช้คำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิลที่ให้มีทัศนะที่สมดุลในเรื่องความสวยงามอย่างไร? (ดูสุภาษิต 31:30 ด้วย)
8 เราอาจเห็นภาพมาระดะคายมองเอศเธระด้วยความเอ็นดู. เขาคงรู้สึกภูมิใจที่เห็นเอศเธระเติบโตขึ้นเป็นหญิงสาวที่งดงามยิ่ง กระนั้นก็เอศ. 2:7) คัมภีร์ไบเบิลช่วยเราให้มีทัศนะที่สมดุลในเรื่องความสวยงาม แม้รูปร่างหน้าตาที่สะสวยเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ชื่นชม แต่ต้องมีสติปัญญาและความถ่อมด้วย. มิฉะนั้น ความสวยจะไม่มีค่าอะไรเลย แถมยังทำให้คนนั้นกลายเป็นคนหยิ่งและมีนิสัยที่น่ารังเกียจ. (อ่านสุภาษิต 11:22 ) คุณเห็นด้วยกับเรื่องนี้ไหม? กระนั้น ความสวยงามของเอศเธระจะเป็นคุณหรือโทษ? เวลาเท่านั้นที่บอกได้.
อดห่วงไม่ได้. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า เธอ “รูปร่างงามและสะสวย.” (9. (ก) เกิดอะไรขึ้นเมื่อคนของกษัตริย์สังเกตเห็นเอศเธระ และทำไมเธอรู้สึกเศร้าเสียใจมากเมื่อถูกแยกจากมาระดะคาย? (ข) ทำไมมาระดะคายยอมให้เอศเธระแต่งงานกับคนต่างชาติที่ไม่นมัสการพระเจ้า? (ดูกรอบด้วย)
9 คนของกษัตริย์สังเกตเห็นเอศเธระ. เธอกับสาวงามคนอื่น ๆ ถูกนำตัวไปที่พระราชวังซึ่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ ทำให้เธอกับมาระดะคายพัดพรากจากกัน. (เอศ. 2:8) ทั้งสองคงรู้สึกเศร้าเสียใจมาก เพราะพวกเขารักและผูกพันกันเหมือนพ่อลูกจริง ๆ. มาระดะคายคงไม่อยากให้ลูกบุญธรรมแต่งงานกับคนที่ไม่นมัสการพระเจ้า ถึงจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม แต่เขาก็ทำอะไรไม่ได้. * เมื่อมาระดะคายสั่งสอนเธอเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะจากกัน เอศเธระคงตั้งใจฟังทุกถ้อยคำ. ขณะถูกนำตัวไปที่พระราชวังชูชาน ในใจเธอคงมีคำถามมากมาย. จากนี้ไปชีวิตเธอจะเป็นอย่างไร?
‘ทุกคนที่เห็นเธอ’ ชื่นชอบเธอ
10, 11. (ก) สภาพแวดล้อมใหม่อาจมีผลต่อเอศเธระอย่างไร? (ข) มาระดะคายทำอะไรที่แสดงว่าเขาเป็นห่วงเอศเธระ?
10 ชีวิตของเอศเธระเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง. เธอเป็นหนึ่งในหมู่ “หญิงสาวเป็นอันมาก” ที่ถูกเลือกมาจากทั่วจักรวรรดิเปอร์เซีย. ธรรมเนียม ภาษา และความคิดของหญิงสาวเหล่านี้แตกต่างกันมาก. พวกเธออยู่ในการดูแลของเจ้าพนักงานชื่อเฮฆายเป็นเวลา 1 ปี. เขามีหน้าที่ทำให้หญิงสาวเหล่านี้ดูดีและสวยงามที่สุด โดยประทินผิวและนวดตัวพวกเธอด้วยน้ำมันหอม. (เอศ. 2:8, 12) เมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นคงง่ายที่หญิงสาวเหล่านี้จะเริ่มสนใจแต่เรื่องความสวยความงามที่ไร้แก่นสารและแข่งขันชิงดีกัน. เอศเธระจะเป็นอย่างนั้นไหม?
11 มาระดะคายเป็นห่วงเอศเธระมาก. คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า เขาจะพยายามเข้าไปใกล้ตึกของผู้หญิงเหล่านี้ทุกวันเพื่อถามข่าวคราวของเอศเธระ. (เอศ. 2:11) มาระดะคายคงมีความสุขและภูมิใจในตัวลูกสาวคนนี้มากเมื่อได้ยินข่าวของเธอจากคนรับใช้ในตึก. เพราะเหตุใด?
12, 13. (ก) หลายคนรู้สึกอย่างไรต่อเอศเธระ? (ข) ทำไมมาระดะคายคงดีใจมากที่รู้ว่าเอศเธระไม่ได้บอกคนอื่นว่าเธอเป็นลูกหลานชาวยิว?
12 เอศเธระเป็นที่โปรดปรานของเฮฆาย เขาช่วยเหลือและดูแลเธออย่างเอศ. 2:9, 15, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย ) เธอชนะใจทุกคนเพราะความสวยเท่านั้นไหม? ไม่ เอศเธระมีสิ่งอื่นที่มีค่ายิ่งกว่าความสวย. นั่นคืออะไร?
ดี. เฮฆายให้สาวใช้ 7 คนคอยปรนนิบัติเธอและให้เธออยู่ในห้องพักที่ดีที่สุด. บันทึกในพระคัมภีร์กล่าวว่า ‘ทุกคนที่เห็นเอศเธระก็ชื่นชอบเธอ.’ (13 พระคัมภีร์บอกว่า “เอศเธระนั้นยังไม่ได้บอกว่าพี่น้องและวงศ์ญาติของตนเป็นผู้ใด: ด้วยว่ามาระดะคายได้ห้ามไม่ให้บอกแก่ผู้ใดให้รู้ความนั้น.” (เอศ. 2:10) มาระดะคายสั่งเธอไม่ให้บอกคนอื่นว่าเธอเป็นลูกหลานชาวยิว. เขาคงรู้ว่าพวกขุนนางชาวเปอร์เซียมีอคติต่อชาวยิวอย่างมาก. มาระดะคายคงดีใจสักเพียงไรที่รู้ว่าเอศเธระยังสุขุมรอบคอบและเชื่อฟังเขาแม้จะอยู่ไกลหูไกลตาเช่นนี้.
14. หนุ่มสาวในทุกวันนี้จะเลียนแบบเอศเธระได้อย่างไร?
14 คล้ายกัน หนุ่มสาวในทุกวันนี้ก็ทำให้พ่อแม่หรือผู้ที่เลี้ยงดูเขาชื่นใจยินดีได้. แม้อยู่ไกลสายตาพ่อแม่หรืออยู่กับคนที่สนใจแต่เรื่องไร้สาระ ไม่มีศีลธรรม หรือชั่วช้าเลวทราม พวกเขาก็ทำให้พระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์มีพระทัยยินดีได้โดยต้านทานอิทธิพลที่ไม่ดีและยึดมั่นกับมาตรฐานของพระเจ้าเช่นเดียวกับเอศเธระ.—อ่าน15, 16. (ก) เอศเธระชนะใจกษัตริย์โดยวิธีใด? (ข) ทำไมเอศเธระอาจรู้สึกยากที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่?
15 เมื่อถึงเวลาที่เอศเธระต้องเข้าเฝ้ากษัตริย์ เธอสามารถเลือกใส่อะไรก็ได้ที่จะทำให้เธอดูสวยขึ้น. แต่เอศเธระแสดงความถ่อม เธอไม่ได้ขอสิ่งใดเพิ่มเติมนอกจากสิ่งที่เฮฆายแนะนำ. (เอศ. 2:15) เธอคงรู้ว่าความสวยเพียงอย่างเดียวไม่อาจชนะใจกษัตริย์ได้ แต่ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่างหากที่มีคุณค่าและหาได้ยากยิ่งในราชสำนักแห่งนี้. เธอคิดถูกไหม?
16 บันทึกในพระคัมภีร์บอกว่า “ฝ่ายกษัตริย์ได้รักนางเอศเธระมากกว่าหญิงทั้งปวง, และนางเอศเธระนั้นได้รับความชอบและความโปรดปรานในพระเนตรของกษัตริย์มากยิ่งกว่าหญิงพรหมจารีทั้งหลายเหล่านั้น; และกษัตริย์จึงเอาราชมงกุฎใส่ศีรษะนางเอศเธระ, และตั้งไว้เป็นมเหสีแทนพระนางวัศธีนั้น.” (เอศ. 2:17) ตอนนี้เอศเธระคือราชินีองค์ใหม่ มเหสีของกษัตริย์ผู้ทรงอำนาจที่สุดในสมัยนั้น. สาวยิวผู้ถ่อมตนคนนี้คงรู้สึกยากมากที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้. ตำแหน่งใหม่นี้จะทำให้เธอเป็นคนหยิ่งไหม? ไม่เลย!
17. (ก) เอศเธระแสดงอย่างไรว่าเธอยังคงเชื่อฟังคำสั่งของพ่อบุญธรรม? (ข) เหตุใดจึงสำคัญมากที่เราจะทำตามแบบอย่างของเอศเธระ?
17 เอศเธระยังเชื่อฟังคำสั่งของมาระดะคายพ่อบุญธรรมเสมอ. เธอยังไม่ได้บอกใครว่าเป็นชาวยิว. ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อมาระดะคายรู้ว่ามีคนวางแผนลอบปลงพระชนม์กษัตริย์และบอกให้เอศเธระไปเตือนพระสวามี เธอก็เชื่อฟัง ทำให้ผู้วางแผนเหล่านั้นถูกประหาร. (เอศ. 2:20-23) นอกจากนั้น เธอยัง แสดงความเชื่อในพระเจ้าโดยเป็นคนถ่อมและเชื่อฟังเสมอ. สำหรับเราในทุกวันนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะทำตามแบบอย่างของเอศเธระ เพราะการไม่เชื่อฟังและการขัดขืนกลายเป็นเรื่องธรรมดา. แต่คนที่มีความเชื่อแท้จะถือว่าการเชื่อฟังเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นเดียวกับเอศเธระ.
ความเชื่อของเอศเธระถูกทดสอบ
18. (ก) ทำไมมาระดะคายไม่ยอมก้มหัวให้ฮามาน? (ดูเชิงอรรถด้วย) (ข) ชายหญิงที่ซื่อสัตย์หลายคนในทุกวันนี้เลียนแบบมาระดะคายอย่างไร?
18 กษัตริย์อะหัศวะโรศได้แต่งตั้งชายคนหนึ่งชื่อฮามานให้มีตำแหน่งสูงในราชสำนัก. เขาได้เป็นหัวหน้าเหล่าเสนาบดี เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญและมีอำนาจสูงสุดในจักรวรรดิรองจากกษัตริย์. กษัตริย์ถึงกับออกกฎหมายว่าใครก็ตามที่พบฮามานต้องโค้งคำนับเขา. (เอศ. 3:1-4) กฎหมายนี้ทำให้มาระดะคายลำบากใจ. เขาเต็มใจเชื่อฟังกษัตริย์ทุกเรื่องถ้านั่นไม่ขัดกับพระบัญชาของพระเจ้า. แต่ฮามานเป็นชาวอะฆาฆ. นั่นหมายความว่าเขาคงเป็นลูกหลานของอะฆาฆกษัตริย์ชาวอะมาเล็คที่ถูกซามูเอลประหาร. (1 ซามู. 15:33) ชาวอะมาเล็คชั่วช้ามากถึงขนาดที่ตั้งตัวเป็นศัตรูต่อพระยะโฮวาและชาวอิสราเอล. ดังนั้น พระเจ้าจึงพิพากษาลงโทษชาวอะมาเล็คทั้งชาติโดยกำจัดพวกเขาจนสิ้นซาก. * (บัญ. 25:19) ถ้าอย่างนั้น ชาวยิวผู้ซื่อสัตย์จะโค้งคำนับชาวอะมาเล็คคนนี้ได้อย่างไร? มาระดะคายไม่มีวันทำเช่นนั้น. เขาจะไม่ยอมก้มหัวให้ฮามานเด็ดขาด. ชายหญิงที่ซื่อสัตย์หลายคนในทุกวันนี้ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อยึดมั่นกับหลักการที่ว่า “พวกข้าพเจ้าต้องเชื่อฟังพระเจ้าในฐานะผู้มีอำนาจปกครอง ไม่ใช่เชื่อฟังมนุษย์.”—กิจ. 5:29
19. ฮามานต้องการทำอะไร และเขาพูดให้กษัตริย์คล้อยตามอย่างไร?
19 ฮามานโกรธมาก. แต่เขาคิดว่าแค่ฆ่ามาระดะคายคนเดียวยังไม่พอ. เขาต้องการกำจัดเพื่อนร่วมชาติของมาระดะคายทุกคน! ฮามานไปเฝ้า * กษัตริย์อะหัศวะโรศจึงมอบแหวนตราประจำพระองค์แก่ฮามานทำให้เขามีอำนาจสิทธิ์ขาดที่จะออกคำสั่งตามใจชอบ.—เอศ. 3:5-10
กษัตริย์และพูดใส่ร้ายชาวยิว. เขาไม่ได้บอกกษัตริย์ว่าคนเหล่านี้เป็นชนชาติใด แต่พูดทำนองว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีความสำคัญอะไรและ “กระจัดกระจายไปอยู่กับพลไพร่ทั้งปวงตลอดทั่วอาณาเขตของพระองค์.” ที่ร้ายกว่านั้น เขาบอกว่าชนกลุ่มนี้ไม่เชื่อฟังกฎหมายของกษัตริย์และอาจลุกฮือก่อกบฏได้. เขาเสนอจะถวายเงินจำนวนมากให้กษัตริย์ใช้ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว.20, 21. (ก) คำสั่งของฮามานมีผลต่อชาวยิวที่อยู่ทั่วจักรวรรดิเปอร์เซียรวมทั้งมาระดะคายอย่างไร? (ข) มาระดะคายขอให้เอศเธระทำอะไร?
20 ไม่ช้าม้าเร็วก็นำหมายประกาศไปให้ข้าหลวงทั่วจักรวรรดิเปอร์เซียอันกว้างใหญ่เพื่อแจ้งว่าชาวยิวทั้งหมดต้องถูกประหาร. คิดดูสิเมื่อข่าวนี้แพร่ไปเอศเธระ 3:12–4:1
ถึงกรุงเยรูซาเลม ผู้คนที่นั่นจะรู้สึกอย่างไร. ตอนนั้นชาวยิวที่เหลืออยู่ซึ่งกลับมาจากการเป็นเชลยที่กรุงบาบิโลนกำลังช่วยกันบูรณะกรุงเยรูซาเลมและยังไม่ทันสร้างกำแพงป้องกันเมืองด้วยซ้ำ. เมื่อมาระดะคายได้ยินข่าวที่น่าตกตะลึงนี้ เขาคงนึกถึงชาวยิวเหล่านั้น รวมทั้งเพื่อนและญาติ ๆ ในเมืองชูชาน. เขาลุกขึ้นฉีกเสื้อผ้า นุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบ เอาขี้เถ้าใส่หัว แล้วร้องคร่ำครวญเสียงดังอยู่กลางกรุงชูชาน. ชาวยิวในเมืองต่าง ๆ รวมทั้งที่อยู่ในกรุงชูชานต่างเดือดร้อนใจ แต่ฮามานกลับนั่งดื่มเหล้าอยู่กับกษัตริย์โดยไม่รู้สึกรู้สา.—อ่าน21 มาระดะคายรู้ว่าเขาต้องทำอะไรสักอย่าง. แต่เขาจะทำอะไรได้? เมื่อเอศเธระรู้ว่ามาระดะคายกำลังทุกข์ใจมาก เธอส่งเสื้อผ้าไปให้เขา แต่เขาไม่รับ. มาระดะคายอาจข้องใจมานานแล้วว่าทำไมพระยะโฮวาพระเจ้าจึงยอมให้เอศเธระบุตรสาวที่รักถูกเอาตัวไปเป็นราชินีของกษัตริย์นอกรีต. ตอนนี้เขาอาจเริ่มเข้าใจแล้ว. มาระดะคายจึงฝากข่าวไปถึงราชินีเอศเธระ ขอให้พระนางไปเข้าเฝ้าและทูลอ้อนวอนกษัตริย์ “เพื่อเห็นแก่ชนชาติของพระนาง.”—เอศ. 4:4-8, ฉบับ 1971
22. เหตุใดเอศเธระอาจกลัวที่จะเข้าเฝ้ากษัตริย์ผู้เป็นสามีเธอ? (ดูเชิงอรรถด้วย)
22 เมื่อทราบข่าว เอศเธระคงเป็นทุกข์ยิ่งนัก. ความเชื่อของเธอกำลังถูกทดสอบ. เมื่อดูจากถ้อยคำที่เธอฝากไปบอกมาระดะคาย เรารู้ว่าเธอกลัว. เธอเตือนเขาให้นึกถึงกฎหมายของกษัตริย์ที่ว่า ถ้าผู้ใดเข้าเฝ้ากษัตริย์โดยไม่มีรับสั่ง ผู้นั้นต้องตายสถานเดียวเว้นแต่กษัตริย์จะยื่นคทาทองคำให้. เอศเธระอาจคิดว่าเธอคงไม่ได้รับความเมตตาจากกษัตริย์ เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระนางวัศธีตอนที่เธอไม่ยอมไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ตามรับสั่ง. เอศเธระ *—เอศ. 4:9-11
บอกมาระดะคายว่ากษัตริย์ไม่ได้รับสั่งให้เธอเข้าเฝ้ามา 30 วันแล้ว. เนื่องจากไม่ได้เข้าเฝ้านานขนาดนั้น เอศเธระคงสงสัยว่ากษัตริย์ที่เอาใจยากผู้นี้ยังโปรดปรานเธออยู่หรือไม่.23. (ก) มาระดะคายช่วยเอศเธระให้มีความเชื่อมั่นในพระเจ้าอย่างไร? (ข) ทำไมเราควรเลียนแบบมาระดะคาย?
23 มาระดะคายตอบอย่างหนักแน่นเพื่อช่วยเอศเธระให้มีความเชื่อมั่นในพระเจ้า. เขาบอกว่าถ้าเธอไม่ลงมือทำอะไร พระเจ้าจะช่วยชาวยิวด้วยวิธีอื่น. แต่เธอจะแน่ใจได้หรือว่าเธอเองจะรอดพ้นจากน้ำมือของศัตรูถ้าการข่มเหงเริ่มขึ้น. คำพูดของมาระดะคายแสดงว่าเขามีความเชื่อมั่นในพระยะโฮวา. เขาเชื่อว่าพระองค์จะไม่ปล่อยให้ประชาชนของพระองค์ถูกกวาดล้างและจะทำให้คำสัญญาทุกอย่างสำเร็จเป็นจริง. (ยโฮ. 23:14) มาระดะคายถามเอศเธระว่า “บางทีที่เจ้ามารับตำแหน่งราชินีก็เพื่อยามคับขันนี้ก็เป็นได้ใครจะรู้?” (เอศ. 4:12-14, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย ) เราน่าจะเลียนแบบมาระดะคายมิใช่หรือ? เขาวางใจในพระยะโฮวาพระเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม. แล้วเราล่ะ?—สุภา. 3:5, 6
ความเชื่อที่เข้มแข็งทำให้เธอไม่กลัวตาย
24. เอศเธระแสดงความเชื่อและความกล้าหาญอย่างไร?
24 ถึงเวลาที่เอศเธระต้องตัดสินใจ. เธอสั่งคนให้ไปแจ้งมาระดะคายว่าให้ชาวยิวอดอาหารพร้อมกับเธอเป็นเวลา 3 วัน. นอกจากนั้น เธอยังฝากบอกมาระดะคายด้วยว่า “ถึงเราจะต้องตายก็ตายเถิด” นี่แสดงว่าเธอมีความเชื่อและกล้าหาญมาก. ผู้รับใช้ของพระเจ้าทุกคนต้องมีคุณลักษณะ 2 อย่างนี้. (เอศ. 4:15-17) ตลอด 3 วันนั้นเธอคงอธิษฐานอย่างแรงกล้ายิ่งกว่าที่เคยทำมาทั้งชีวิต. ในที่สุดก็ถึงเวลาที่ต้องเข้าเฝ้ากษัตริย์. เอศเธระแต่งตัวด้วยเครื่อง ทรงของมเหสีที่งามที่สุด. เธอพยายามทำทุกสิ่งเพื่อให้กษัตริย์พอใจ. แล้วเธอก็ไปเข้าเฝ้ากษัตริย์.
25. จงพรรณนาว่าเหตุการณ์เป็นเช่นไรเมื่อเอศเธระเข้าเฝ้าพระสวามี.
25 เอศเธระเดินไปยังท้องพระโรงที่กษัตริย์ประทับอยู่ ดังที่พรรณนาในตอนต้น. เธอคงวิตกกังวลมากและอธิษฐานอยู่ในใจตลอดทาง. ตอนนี้เธอยืนอยู่ใกล้ท้องพระโรงตรงจุดที่กษัตริย์อะหัศวะโรศอาจมองเห็นได้จากบัลลังก์. เธออาจพยายามอ่านความรู้สึกจากสีหน้าของกษัตริย์. ถ้าต้องรอให้กษัตริย์มองเห็น เธอคงรู้สึกว่าช่วงเวลานั้นช่างเนิ่นนานเหลือเกิน. แต่ในที่สุดพระสวามีก็เห็นเธอ. กษัตริย์แปลกใจมาก แต่ก็ไม่ได้แสดงสีหน้าขุ่นเคือง. แล้วพระองค์ก็ยื่นคฑาทองคำออกมา!—เอศ. 5:1, 2
26. ทำไมคริสเตียนแท้ต้องมีความกล้าหาญเหมือนเอศเธระ และทำไมภารกิจของเธอเพิ่งเริ่มต้น?
26 กษัตริย์ยอมให้เอศเธระเข้าเฝ้าและรับฟังสิ่งที่เธอทูลขอ. เอศเธระยืนหยัดอยู่ฝ่ายพระเจ้าและเสี่ยงชีวิตเพื่อประชาชนของพระองค์. เธอเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมในเรื่องความเชื่อสำหรับผู้รับใช้ทุกคนของพระเจ้าตลอดทุกยุคทุกสมัย. คริสเตียนแท้ในทุกวันนี้จะจดจำตัวอย่างที่ดีเช่นนี้ไว้เสมอ. พระเยซูตรัสว่าสาวกแท้ของพระองค์ต้องมีความรักแบบเสียสละ. (อ่านโยฮัน 13:34, 35 ) เพื่อจะแสดงความรักดังกล่าวได้เราต้องมีความกล้าหาญเหมือนเอศเธระ. แม้ว่าเธอยอมเสี่ยงชีวิตปกป้องประชาชนของพระเจ้า แต่ภารกิจของเธอเพิ่งเริ่มต้น. เธอจะทำอย่างไรให้กษัตริย์เชื่อว่าฮามานเสนาบดีคนโปรดของพระองค์เป็นผู้วางแผนชั่วช้านี้? เธอจะปกป้องเพื่อนร่วมชาติอย่างไร? เราจะพิจารณาคำถามเหล่านี้ในบทถัดไป.
^ วรรค 2 นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอะหัศวะโรศคือกษัตริย์เซอร์เซสที่ 1 ผู้ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียในช่วงต้นศตวรรษที่ 5 ก่อน ส.ศ.
^ วรรค 9 ดูกรอบ “คำถามเกี่ยวกับเอศเธระ” ในบท 16.
^ วรรค 18 ฮามานอาจเป็นหนึ่งในชาวอะมาเล็คกลุ่มสุดท้ายที่รอดชีวิตจากการกวาดล้างในอดีต เพราะชาวอะมาเล็คส่วนใหญ่ที่ “เหลืออยู่” ถูกฆ่าไปแล้วตั้งแต่สมัยกษัตริย์ฮิศคียาห์.—1 โคร. 4:43
^ วรรค 19 ฮามานเสนอจะให้เหรียญเงิน 10,000 ตะลันต์แก่กษัตริย์ ซึ่งปัจจุบันมีค่าเท่ากับเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์. ถ้ากษัตริย์อะหัศวะโรศคือเซอร์เซสที่ 1 จริง ๆ พระองค์คงยินดีรับข้อเสนอของฮามาน. เซอร์เซสต้องการเงินจำนวนมากเพื่อจะใช้ทำสงครามกับกองทัพกรีก แต่สุดท้ายเขาก็พ่ายแพ้ย่อยยับ.
^ วรรค 22 กษัตริย์เซอร์เซสที่ 1 ได้ชื่อว่าเป็นคนฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์และโมโหร้าย. เฮโรโดทุสนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกบันทึกเหตุการณ์บางอย่างไว้ตอนที่เซอร์เซสไปรบกับกองทัพกรีก. กษัตริย์สั่งให้เอาเรือมาผูกต่อกันเพื่อทำเป็นสะพานข้ามช่องแคบเฮลเลสพอนต์. เมื่อพายุพัดสะพานพังพินาศ กษัตริย์เซอร์เซสสั่งให้ตัดหัวนายช่างคุมงานทุกคน และถึงกับสั่งให้ทหาร “ลงโทษ” ช่องแคบเฮลเลสพอนต์โดยเฆี่ยนน้ำพร้อมกับอ่านคำสาปแช่งด้วยเสียงดัง. ในการรบครั้งเดียวกัน เมื่อเศรษฐีคนหนึ่งมาอ้อนวอนไม่ให้เอาลูกชายไปเป็นทหาร กษัตริย์เซอร์เซสสั่งให้ฟันลูกชายเขาขาดเป็นสองท่อนแล้วเสียบประจาน.